วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การทำหมันกระต่ายดีอย่างไร

     คำถามที่พบบ่อย ๆ คือ ทำไมต้องทำหมันกระต่ายและการทำหมันกระต่ายส่งผลดีต่อกระต่ายอย่างไร เรามีคำตอบของเรื่องนี้มามีไขข้อสงสัยให้ค่ะ
   
     การหมันในกระต่ายนั้นสามารถทำได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย เรามาดูกันว่าการทำหมันนั้นจะมีประโยชน์และมีผลดีต่อกระต่ายอย่างไร

  • ป้องกันการตั้งครรค์   นี่เป็นสาเหตุหลักของการทำหมันให้กระต่าย เพราะในกรณีที่เลี้ยงกระต่ายรวมกันหลายตัวและมีทั้งสองเพศอยู่ด้วยกัน อาจจะทำให้กระต่ายเกิดการผสมพันธุ์และมีลูกเกิดออกมาหลาย ๆ คอก และที่สำคัญกระต่ายนั้นมีระยะเวลาในการตั้งครรภ์เพียง  1 เดือน
  • ป้องกันเนื้องอกในมดลูก   เนื้องอกชนิด ( Uterine Cancer ) เป็นเนื้องอกที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้และก็เป็นเหตุผลสำคัญในการเลือกทำหมันในกระต่าย และควรทำหมันก่อนอายุ 2 ขวบ
  • ป้องกันโรคเกี่ยวกับมดลูกต่าง ๆ เช่น มดลูกเป็นหนอง ซึ่งในกรณีในจะพบหนองในมดลูกหรือพบการอักเสบของเยื่อบุช่องคลอด รวมไปถึงการพบเลือดในมดลูก การป้องกันที่ง่ายที่สุดคือการทำหมันก่อนอายู 2 ขวบ
  • ป้องกันการท้องเทียม   การท้องเทียมเกิดจากฮอร์โมนเพศในกระต่ายเพศหญิงไม่สมดุลกันหรือผิดปกติไป การท้องเทียมกระต่ายจะแสดงอาการคล้ายกับการตั้งครรภ์จริง ๆ อาจจะมีอาการหวงอาณาเขต ก้าวร้าว การทำรัง การสร้างน้ำนม ร่วมด้วย
  • ป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม   แต่ส่วนใหญ่กระต่ายจะมีโอกาสพบได้น้อยมาก แต่เมื่อกระต่ายเป็นเป็นโรคนี้แล้วมะเร็วอาจจะกระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็วและยากที่จะรักษา
  • ป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าว   ทั้งเพศผู้และเพสเมีย มักจะแสดงอาการก้าวร้าวเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 6 - 12 เดือน
  • ป้องกันการปัสสาวะเพื่อบ่งบอกอาณาเขต   กระต่ายทั้ง  2 เพศสามารถฉี่หรือปัสสาวะเพื่อบ่งบออาณาเขตของตนเองโดยส่วนใหญ่มักจะปัสสาวะตามเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน และรวมไปถึงบริเวณรอบ ๆ หรือมุมต่าง ๆ  ตรงที่กระต่ายอยู่อาศัย ถ้าไม่ทำหมันอาจจะพบปัสสาวะที่กระต่ายสร้างอาณาเขตประมาณ 10 ครั้งต่อวัน
  • ในเพศผู้การทำหมันยังป้องกันโรคเกี่ยวกับอัณฑะ  ปกติแล้วมักไม่ค่อยพบว่ามีโรคเกี่ยวกับอัณฑะเท่าไหร่นัก ซึ่งอาจจะพบว่าเป็นฝีหรือโรคเนื้องอกมากกว่า
     อายุที่เหมาะแก่การทำหมันในกระต่าย ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วง 6 เดือนขึ้นไปและไม่ควรจะเกิน 2 ขวบ ทั้งนี้ทั้งนั้นในการทำหมันให้กระต่าย จำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจร่างกายก่อนการทำหมัน แต่ในการทำหมันให้กระต่ายไม่แนะนำให้ทำในช่วงอายุที่ต่ำกว่า 4 เดือน เพราะว่าจะทำค่อนข้างยาก เนื่องจากกระต่ายมีขนาดตัวที่เล็กและยังมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก รวมไปถึงกระต่ายยังไม่ทนต่อการวางยาสลบเท่ากับกระต่ายที่โตเต็มที่

     ** ก่อนการทำหมันกระต่ายควรตรวจสุขภาพกระต่ายก่อนทุกครั้ง เช่น การตรวจเลือก และการตรวจสุขภาพทั่วไป เพราะจะได้ลดโอกาสเสี่ยงจากการวางยาสลบ หรือมักจะหลีกเลี่ยงการวางยาสลบในกระต่ายที่อ้วน เพราะจะมีผลเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามมา หลังจากทำหมันแล้วควจจะดูแลแผลลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิดอย่างน้อยเช้า - เย็น หากมีอะไรผิดปกติก็ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที






วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มาอาบน้ำให้น้องกระต่ายกันเถอะ

          สำหรับการอาบน้ำให้น้องกระต่ายนั้น เราจะเรียกว่าการแาบน้ำแห้งหรือการอาบน้ำด้วยโฟมนั้นเอง เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่ผิวหนังบอบบางและสามารถป่วยได้ง่าย จึงไม่นิยมอาบน้ำน้องกระต่ายเหมือนสุนัขหรือแมว เพราะอาจจะทำให้น้องกระต่ายป่วยและเป็นปอดบวมได้ แต่ถ้าหากตัวของน้องกระต่ายเลอะหรือสกปรกมาก ๆ ให้น้ำผ้าชุปน้ำและบิดให้หมาดที่สุด และนำผ้ามาลูบตามลำตัวหรือบริเวณที่สกปรก หลังจากนั้นให้เป่าขนน้องกระต่ายให้แห้งสนิดเพื่อป้องกันการอับชื้น ป้องกันโรคไข้หวัด และป้องกันโรคปอดบวม ส่วนโฟมที่ใช้อาบน้ำให้น้องกระต่ายนั้นสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงทั่วไปแต่จะต้องศึกษาคุณสมบัติของโฟมยี่ห้อนั้น ๆ ก่อนว่าสามารถใช้กับน้องกระต่ายได้หรือไม่ และมีวีธีการใช้อย่างไร บางยี่ห้อใช้โดยวิธีการฉีดพ่นลงบนตัวของน้องกระต่ายได้เลย และบางยี่ห้อจะต้องชโลมโฟมลงบนตัวน้องกระต่าย จากนั้นใช้มือลูบตามส่วนต่าง ๆ ขอร่างกายและใช้หวีเพื่อตกแต่งขน " ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ควรใช้โฟมอาบน้ำแห้งกับน้องกระต่ายบ่อย ๆ เพราะเนื่องจากน้องกระต่ายมักจะมีวิธีการทำความสะอาดตนเองอยู่ทุก ๆ วัน โดยวิธีการเลียตามลำตัวและอวัยวะต่าง ๆ  หรือเรียกว่ากระต่ายแต่งตัวนั้นเอง "
       


        ตัวอย่างโฟมอาบน้ำของน้องกระต่าย



                     

เรียนรู้วิธีการอุ้มกระต่ายที่ถูกวิธีกันดีกว่า..... ??

          หลาย ๆ คนมักจะมีความเชื่อที่ว่าการอุ้มกระต่ายนั้น ควรจะอุ้มด้วยการดึงหูทั้ง  2 ข้างของกระต่ายขึ้นมา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ววิธีการอุ้มกระต่ายแบบนั้น มันจะส่งผลเสียให้กับกระต่ายเป็นอย่างมาก เพราะบริเวณใบหูของกะต่ายนั้นเต็มไปด้วยเส้นประสาทเยอะแยะมากมายและรวมถึงยังมีความบอบบางมากอีกด้วย การอุ้มกระต่ายด้วยการดึงหู จึงเป็นวีธีที่ผิดและหากหระต่ายได้รับบาดเจ็บ อาจจะส่งผลให้กระต่ายเสียชีวิตได้ ดังนั้นเรามีเรียนรู้การอุ้มกระต่ายที่ถูกวิธีกันดีกว่าค่ะ 

          1. เดินเข้าหากระต่ายช้า ๆ และค่อย ๆ นั่งลงให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับกระต่าย เพราะจะช่วยให้คุณอุ้มกระต่ายได้ถนัดยิ่งขึ้น จากนั้นลูบขนกระต่ายเบา ๆ เพื่อทำให้กระต่ายรู้สึกผ่อนคลายเสียก่อน

        2. เมื่อคุณแน่ใจว่า กระต่ายอยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้อุ้มแล้ว ให้สอดมือเข้าไปที่ใต้ท้องกระต่าย และดึงกระต่ายเข้ามาแนบกับลำตัว

        3. ใช้มือทั้ง 2 ข้างของคุณประคองเท้าทั้ง 4 ข้างของกระต่ายเอาไว้ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้กระต่ายรู้สึกปลอดภัย เมื่ออยู่ในอ้อมแขนของคุณ

        4. ถ้ากระต่ายดิ้นในระหว่างที่คุณกำลังอุ้ม ให้คุณกระชับแขนเข้าหากันเพื่อประคองกระต่ายเอาไว้ในอ้อมแขนให้แน่นยิ่งขึ้น และอยู่ในท่าทีพร้อมจะวางกระต่ายลงกับพื้น ซึ่งในระหว่างนี้ก็พยายามป้องกันไม่ให้กระต่ายกระโดดออกไปจากอ้อมแขนของคุณด้วย เพราะจะทำให้กระต่ายบาดเจ็บได้ง่าย ๆ

       5. เมื่อคุณต้องการจะวางกระต่ายลงกับพื้น ให้ย่อตัวลงบนพื้นช้า ๆ เมื่อย่อถึงพื้นแล้วก็ก้มตัวลงไปให้ใกล้กับพื้นมากที่สุด จากนั้นคลายวงแขนออกแล้วให้กระต่ายเดินออกจากอ้อมแขนของคุณเอง

( การอุ้มกระต่ายแบบผิดวิธี )



                                                        
 ( การอุ้มกระต่าบแบบถูกวิธี )